fbpx
วิธีทำความสะอาด บน ‘เหรียญ-ธนบัตร’
มีนาคม 16, 2020
เช็คอาการโควิด-19 วันต่อวัน
มีนาคม 24, 2020

โรคติดเชื้อเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณเพียงพอจนสามารถก่อโรคได้ เชื้อก่อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การหายใจ การกลืนกิน หรือการสัมผัสผิวหนัง โดยในช่องทางแพร่เชื้อที่สำคัญ คือ การแพร่ผ่านตัวกลางที่ไม่มีชีวิต ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาดเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อม

อธิบายถึงคำสำคัญสองคำ คือ Antiseptics และ. Disinfectants

  • Disinfectant (สารฆ่าเชื้อ) คือ สารที่ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย ไม่เจาะจง แต่มีความรุนแรงทำให้ไม่สามารถใช้กับพื้นผิวสิ่งมีชีวิตได้เช่นผิวหนัง จึงเหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ ที่ไม่มีชีวิตเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ
  • Antiseptic (สารระงับเชื้อ) คือ สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ และใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนผิวหรือเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสารบางชนิดอาจเป็นได้ทั้ง disinfectant และ antiseptic เมื่อความเข้มข้นเปลี่ยน เช่น chlorhexidine ที่ความเข้มข้น 0.02% ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก จัดเป็น antiseptic แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 0.5% จะเป็น disinfectant ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวได้

กรมควบคุมโรค แนะนำให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับพื้นผิว เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้

  • แอลกอฮอล์ 70% เหมาะสำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ
  • ผงซักฟอกผสมน้ำร้อน 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับวัสดุที่เป็นผ้า
  • น้ำยาฟอกขาว (6% สารโชเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน เหมาะสำหรับพื้นผิวที่มีละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย
  • ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (3% H202) 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แต่ควรระมัดระวังการกัดกร่อนพื้นผิว และการสัมผัสของร่างกาย